Tag Archives: Complex application

Home / Posts tagged "Complex application"

  ▓   ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ….. แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย   ▓   ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ….. นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ….. เช็ค Junk / Spam ด้วย   ▓   2 อาทิตย์ 4 เคส …. ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว           ◙  1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น          ◙  2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam          ◙  1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! !   ▓   ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ …. […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ เช่น 457 482 494 186 และ 187           Q: 187 ??? – วีซ่าตัวนี้ไม่มีแล้วไม่ใช่เหรอ          A: ยังทำได้ สำหรับคนกลุ่มเล็กๆที่ถือวีซ่า 457 หรือ 482   ประวัตินายจ้างสำคัญไหม – สำคัญมากค่ะ ไม่ว่าจะก่อนยื่น หรือหลังจากลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ถ้าอนาคตจะมีการสปอนเซอร์คนอื่นต่อ หรือจะมีการสปอนเซอร์ลูกจ้างที่ถือ Temporary visa เพื่อต่อยอดไปเป็นพีอาร์   เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสที่นายจ้างถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจหลังจากที่มีการสปอนเซอร์ลูกจ้างไปแล้ว 2 คน (ไม่ได้แปลว่าถ้าสปอนเซอร์แค่คนเดียวจะไม่ถูกลงตรวจ อยู่ที่นายจ้างไหนจะเจอแจ๊คพอต) …. เกิดอะไรขึ้น 1. อิมมิเกรชั่นเจอว่านายจ้างมีการแต่งตั้ง Director ใหม่ แล้วไม่ได้แจ้งให้อิมมิเกรชั่นทราบภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด   […]

Continue Reading...

คนเขียนมีน้องโทรมาถามกันเป็นระยะๆ พี่คะ แฟนหนูเคยสปอนเซอร์แฟนมาแล้ว 2 คน เค้าจะสปอนเซอร์หนูได้ไหมคะพี่คะ แล้วถ้าหนูมีลูกด้วยกัน มันจะทำให้เคสง่ายขึ้นไหมคะ   คำถามสั้น คำตอบไม่สั้น — คนเขียนไม่ค่อยตอบว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ บอกตามตรงว่าคำตอบแบบนี้ สำหรับคนเขียนรู้สึกว่าเป็นคำตอบไร้สาระ ตอบแบบไม่มีความรับผิดชอบ* ตอบว่าทำได้ ก็เป็นคำตอบให้ความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำไม่ได้* ตอบว่าทำไมได้ ก็เป็นคำตอบตัดความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำได้ ก็ได้   กฏหมายคนเข้าเมืองอนุญาตให้สปอนเซอร์แฟนได้แค่ 2 คนค่ะ (Sponsorship limitation) … ถ้าต้องการสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ต้องโชว์เหตุผลน่าเห็นใจ แจกแจงไปว่าทำไมอิมมิเกรชั่นถึงควรจะอนุญาตให้สปอนเซอร์อีกได้ ซึ่งไม่ง่าย แต่ละเคสเราต้องดูเนื้อหา เข้าใจเคสในรายละเอียด บางเคสต้องคิดหลายวัน บางเคสคิดกันเป็นเดือน บางเคสคิดไปตลอดระยะเวลาการทำงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง   ถ้าใครจับพลัดจับผลู ได้แฟนที่สปอนเซอร์ไปแล้ว 2 คน ทางเลือกของน้อง คือ1. เลิก2. เป็นแฟนกันไป แต่น้องหาวีซ่าอื่นยื่น … ที่ไม่ใช่ Partner […]

Continue Reading...

  เมื่ออาทิตย์ก่อน คนเขียนเข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานอุทธรณ์ Administrative Appeals Tribunal – AAT และหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับจาก AAT คือ เคสธุรกิจ – นายจ้างสปอนเซอร์ มีเรทการชนะที่ชั้นอุทธรณ์ที่ 35% !!!   อนาคตไม่รู้ …. แต่ ณ วันนี้ เคสอุทธรณ์นายจ้างสปอนเซอร์ของคนเขียนทุกเคสอยู่ใน 35% นี้   การเตรียมเคสนายจ้างสปอนเซอร์ โดยเฉพาะเคสถูกปฏิเสธ Nomination ไม่ง่าย เพราะเป็นการพิสูจน์ใหม่หมดทุกประเด็น ไม่ใช่เฉพาะประเด็นที่ถูกปฏิเสธ และในความเห็นของคนเขียน ถ้าเตรียมเคสดีๆ ก็มีโอกาสสูงอยู่ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ไม่ Black / White แต่ออกแนว Grey คือเรามีโอกาสที่โน้มน้าวให้ Tribunal member (คนตัดสินเคส) เห็นตามแนวทางการโต้เถียงของเรา   สำหรับคนที่ไม่รู้ …..   Nomination application คือใบสมัครของนายจ้าง เสนอตำแหน่งงานให้ลูกจ้าง […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ ทำเคสเอง ดีใจเอง เผลอๆดีใจมากกว่าลูกความซะอีก เพราะทราบว่าผล Bridging visa ตัวนี้ ให้ประโยชน์ลูกความมากมาย ….. ถ้าน้องจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์   น้องโทรมาถามว่า Bridging visa E (BVE) ใกล้จะหมด ทำยังไงได้บ้าง  คนเขียนถามคร่าวๆว่าไปทำอะไร ยังไง ก่อนจะถือ ฺBridging visa E  น้องก็ตอบมาแบบงงๆ คนเขียนก็งงๆ ไปกับน้องด้วย เคสน้องค่อนข้างยุ่งเหยิงค่ะ คนเขียนขอไม่ลงรายละเอียด  …. แต่ …. สรุปว่าต้องนัด Consultation ค่ะ  และก็เป็นไปตามคาด น้องก็บอกตามความเข้าใจ แต่เอกสารมาอีกเรื่องนึงเลย และเอกสารก็มีไม่ครบเพราะทำเองบ้าง เพื่อนช่วยบ้าง เพื่อนของเพื่อนช่วยบ้าง …. สรุปว่าข้อมูลบางอย่างคนเขียนต้องคาดเดาเอาเอง (จากประสบการณ์)   ลูกความ :     พี่ … ทำยังไงได้บ้าง BVE ผมกำลังจะหมด และพาสปอร์ตผมก็หมดอายุไปแล้วด้วย […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสผู้ปกครอง 2 เคส (ทั้งสองเคส ไม่ใช่คนไทย)   เคสแรก   เคสนี้ เป็น Referral จากอดีตลูกความซึ่งเริ่มจากเป็นผี แต่ตอนนี้เป็นพลเมืองออสเตรเลียไปเรียบร้อยแล้ว … ลูกความฟันธงมาเลยว่าต้องการให้ทำ Parent visa ให้กับคุณพ่อ ซึ่งมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่ากำลังจะหมด   หลังจากสัมภาษณ์กันอยู่พักใหญ่ คนเขียนคิดว่าคุณพ่อทำ Parent visa แบบในประเทศออสเตรเลียได้ และก็จะได้ Bridging visa เพื่ออยู่รอวีซ่าในประเทศออสเตรเลียด้วย …. แต่ด้วยลักษณะเฉพาะของเคส คนเขียนเสนอวีซ่าอีกตัวให้เป็นทางเลือกด้วย ซึ่งบอกลูกความไปตามตรงว่าวีซ่าตัวนี้คนเขียนยังไม่เคยทำ และวีซ่าตัวนี้มีเงื่อนไขการผ่านยากกว่า Parent visa คือเคสยากกว่านั่นแหละ แต่คนเขียนคิดว่าเหมาะสมและจะให้ประโยชน์กับลูกความมากกว่า ทั้งช่วงรอและหลังวีซ่าผ่าน (ถ้าวีซ่าผ่านนะ)   คนเขียนให้ลูกความเลือกเองระหว่าง Parent visa ที่ลูกความต้องการทำ (และคนเขียนก็ทำเป็นปกติ)   หรือจะทำวีซ่าอีกตัว ที่คนเขียนก็ไม่เคยทำ และเอกสารการพิสูจน์เงื่อนไขต่างๆก็ซับซ้อนกว่า ความเสี่ยงสูงกว่า แต่ให้ประโยชน์มากกว่า   เมื่อมีทางเลือก […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์เคสวีซ่าคู่ครองที่ค่อนข้างซับซ้อน 2 เคส   เคสแรก   ลูกความรักกัน แต่งงานกันที่ไทย คนนึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อีกคนทำงานอยู่ที่ไทย ต้องห่างกันนานหลายปี ระยะทางและความห่างเป็นปัญหา ไม่มีอะไรจะคุยกัน สุดท้ายหาเรื่องทะเลาะกัน ลงเอยที่การหย่ากันตามกฏหมายออสเตรเลีย   กลับมาเจอกันไม่นานหลังจากหย่า สรุปว่ายังรักกัน เปลี่ยนใจจะไม่หย่าแล้ว (คือคิดว่าแต่งที่ไทย หย่าที่ออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้) …. ไม่ทันแล้วค่ะ หย่าก็คือหย่า แต่งที่ไทยและหย่าที่ออสเตรเลียก็คือหย่าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต่างอะไรกับการหย่าที่ไทย (ใครมีปัญหาคล้ายๆกัน และคิดว่าไทยกับออสเตรเลีย ระบบไม่ลิงค์กัน ไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ว่าใครแต่งใครหย่า ขอร้องว่าอย่า shortcut ถ้าไม่อยากมีปัญหาให้ปวดหัวที่หลัง … ปวดหัวมากด้วย PIC4020 การให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง false or misleading information ถ้าถูกเช็คเจอ ใบสมัครอาจจะถูกปฏิเสธพร้อมติดบาร์อีก 3 ปี)   เคสนี้ Strategy ของเราหลายสเต็ป เข้าตามตรอกออกตามประตูแบบสุดๆ ปัญหาคืออิมมิเกรชั่นอาจจะคิดว่าการหย่าก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าหมดรักกัน ไม่มั่นคงต่อกันจริงๆ […]

Continue Reading...

  อดีตลูกความคนนี้ไม่ใช่คนไทย คนเขียนเริ่มทำเคสให้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน   ลูกความจำวันหมดอายุของวีซ่านักเรียนผิดวัน …. รู้ตัวอีกที เป็นผีไป 6 เดือนแล้ว   คนเขียนใช้เวลาทำ Research หาข้อมูลไปหลายวัน ก่อนจะนัดลูกความคุย Strategy (แผน) การทำงานกัน   คนเขียนบอกลูกความว่า Test case นะ ไปเจอช่องโหว่ … ไม่มีกฏหมายบอกว่าห้ามทำ แปลว่าทำได้ … ใช่ไหม?? … ส่วนจะได้วีซ่ากลับมารึเปล่า ไม่ลองไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะรอด ….. ณ จุดนั้น ลูกความไม่มีอะไรจะเสียแล้ว นอกจากเงินและเวลา และยืนยันหนักแน่นว่ายังไงก็ไม่อยากกลับประเทศตัวเอง พ่อแม่ต้องโกรธมากถ้ารู้ว่าอยู่ๆกลายเป็นผี และเรียนไม่จบเพราะจำวันหมดอายุวีซ่าผิด   Strategy แรก (แผน 1) ของเรา มี 3 สเต็ป ในระหว่างที่เราเริ่มสเต็ปแรก คนเขียนก็ทำ Research […]

Continue Reading...

  คนเขียนมีน้องๆนัดขอคำปรึกษาเบื้องต้น (Initial Consultation) กันเป็นปกตินะคะ บางคนก็ ชัดเจนมาเลยว่าต้องการทำวีซ่าอะไร (แต่บางครั้งคนเขียนก็เสนอวีซ่าตัวอื่นที่เหมาะสมกว่า) ไม่ทราบอะไรเลยและต้องการหาแนวทาง หรือวางแผนอนาคต มีปัญหาด่วนมาให้แก้ไขให้ มีเวลาตั้งเยอะแต่ไม่ทำอะไร เหลือ 1 อาทิตย์บ้าง 3 วันบ้าง วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ วันนี้เพิ่งติดต่อมา ปกติคนเขียนไม่ทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ  บางวัน 5ทุ่ม เที่ยงคืน ตี3 ยังนั่งทำงาน แต่จะพยายามเลิกรับโทรศัพท์หลัง 1ทุ่ม   สำหรับเคสด่วน นัดปรึกษาวันเสาร์อาทิตย์ หรือแม้กระทั่ง 3-4 ทุ่ม คนเขียนก็จัดให้นะคะ แต่ด่วนของลูกความ กับด่วนของคนเขียน คนละเรื่องกัน เช่น ลูกความเพิ่งแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์มา ต้องการทราบว่าจะอุทธรณ์ต่อหรือจะกลับไทยดี เคสนี้มี 35 วัน จริงๆเคสนี้ไม่ด่วน แต่ไฟล์กลับไทยช่วงโควิดมีไม่เยอะ และเต็มเร็วมาก เพราะฉะนั้นเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และอาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าของลูกความในอนาคต (ถ้าตัดสินใจจะกลับ แต่กลับไม่ได้ก่อนวีซ่าหมด) เคสนี้คนเขียนดูเคสให้วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น 3 […]

Continue Reading...

  UPDATE: 14 December 2018   จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า “ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง” (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง)   …. ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ …. เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ…. ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้   เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง   ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 […]

Continue Reading...

.   เมื่อไม่นานมานี้คนเขียนได้แจ้งข่าวดีให้กับลูกความคนนึง ตอนน้องติดต่อมาหาคนเขียน น้องถือวีซ่าคู่ครองแบบชั่วคราว (stage 1 – Temporary Partner visa) แต่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (ภาษากฏหมายคือ Family violence หรือ Domestic violence) . น้องบอกว่าไม่ไหวแล้วค่ะพี่ รอมา 23 เดือน กำลังจะใกล้ยื่นเอกสารวีซ่าคู่ครองแบบถาวร (Stage 2 – Permanent Partner visa) แต่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงทำร้ายทรัพย์สินด้วย ทนจนทนไม่ไหวแล้ว …. ว่าแล้วถามว่า ‘เอะ…หรือหนูควรจะทน เพราะใกล้ได้พีอาร์แล้ว’ . ในมุมมองของคนเขียนนะคะ ต่อให้รอมา 23 เดือน ก็ไม่ควรทนอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้อีกต่อไป ใช่ค่ะ อีก 1 เดือนก็จะถึงเวลายื่นเอกสารสำหรับ stage 2 – Permanent Partner visa แต่ก็ไม่ใช่ว่ายื่นเอกสารปุ๊บจะได้วีซ่าปั๊บ เดี๋ยวนี้รอผลกันร่วมปี […]

Continue Reading...