Category Archives: Visa refusal

Home / Archive by category "Visa refusal" (Page 2)

  Q: ผมยื่นวีซ่า 186 แต่ตอนนี้วีซ่ายังไม่ออกครับ ระหว่างรอผมมีปัญหาสุขภาพและไม่ได้ไปทำงาน ตอนนี้ถือบริดจิ้ง 186 ถ้าผมรอที่นี่ไปเรื่อยๆ วีซ่าจะโดนแคลเซิลไหมครับ หรือ มีสิทธิ์ที่วีซ่าจะออกไหมครับ แล้ว ถ้ากรณีโดนยกเลิกวีซ่า ขออุทธรณ์ได้ไหมครับ ปล. ทางร้านไม่แจ้งอิมและยังจ่ายเงินเดือนมาให้เรื่อยๆต่ออีกหลายเดือนครับ   A: เป็นอะไรที่ตอบยากนะคะ เพราะข้อมูลไม่ละเอียดพอ  ขอตอบให้คร่าวๆละกันค่ะ ถ้าไม่ได้ไปทำงานเพราะป่วย คือลาป่วย และนายจ้างยังจ่ายค่าจ้างระหว่างรอให้น้องสุขภาพดีขึ้นและกลับมาทำงานได้ตามปกติ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะคะ โอกาสที่จะได้วีซ่าก็ยังมีค่ะ เก็บเอกสารทุกอย่างไว้ เผื่อจำเป็นต้องใช้ ถ้าถูกปฏิเสธก็ยื่นอุทธรณ์ได้ค่ะ ถ้าไม่ได้ไปทำงานเพราะป่วยจนไม่สามารถทำงานในตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์ได้อีกต่อไปแบบถาวร โอกาสที่ Nomination application และ/หรือ 186 visa application จะถูกปฏิเสธก็มีค่ะ และถ้าได้วีซ่ามา โอกาสที่จะถูกยกเลิกวีซ่าก็มีเช่นกัน อุทธรณ์ได้ค่ะ ส่วนจะชนะหรือไม่อีกเรื่องนึง ต้องทราบรายละเอียดมากกว่านี้ โอกาสที่จะไปต่อในชั้นการพิจารณาอื่นอาจจะมี ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แท้จริงของเคสและเอกสารประกอบการพิจารณา   Blog writer: Kanokwan SubhodyanaImmigration Lawyer Blog: https://visablog.weebly.com  

Continue Reading...

  Q: อยากสอบถามเรื่อง Bridging Visa E ค่ะ พอดีว่าติด Section 48 bar จาก 485 visa refusal แล้วต้องกลับไทยภายใน 28 วัน แต่ว่ายังหาไฟลท์กลับไทยไม่ได้ เลยต้องการยื่นขอ BVE ไม่ทราบว่าต้องขอก่อนหรือหลังวีซ่าหมดหรอคะ   A: ถ้าตอนนี้ถือ BVE อยู่แล้ว = ต่อก่อนวีซ่าหมดถ้าตอนนี้ถือวีซ่าอื่น เช่น BVA = ต่อวันถัดไปหลังวีซ่าหมด (เช่น BVA หมดวัน 14, ยื่นใบสมัคร BVE วันที่ 15) ป.ล.1    วีซ่าถูกปฏิเสธ น่าจะมี 35 วันนะคะ ไม่ใช่ 28 วัน ลองเช็ค VEVO ดูอีกครั้งว่าวีซ่าหมดวันไหนแน่ป.ล.2    ในกรณี 485 […]

Continue Reading...

  Q: วีซ่าเพิ่งถูกปฏิเสธมาน่ะค่ะ อยากทราบว่าควรจะยื่นอุทธรณ์ หรือรอซักระยะนึงแล้วยื่นใบสมัครใหม่ดีคะ   A: ต้องดูว่าถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลอะไร เป็นอะไรที่เราสามารถโต้เถียงหรือปรับปรุงได้ไหม ถ้าได้ เราควรจะโต้เถียงหรือปรับปรุงที่ชั้นอุทธรณ์หรือที่ชั้นอิมมิเกรชั่นดี แต่ละเคสก็มีแนวทาง (Strategy) การทำเคสไม่เหมือนกันค่ะ ก็เป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้โดยไม่พิจารณาเอกสารและซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำให้นัดปรึกษาเบื้องต้นนะคะ เราต้องดูเอกสารและคุยกันค่ะ   Blog writer: Kanokwan SubhodyanaImmigration Lawyer Blog: https://visablog.weebly.com  

Continue Reading...

  คนเขียนมีน้องๆนัดขอคำปรึกษาเบื้องต้น (Initial Consultation) กันเป็นปกตินะคะ บางคนก็ ชัดเจนมาเลยว่าต้องการทำวีซ่าอะไร (แต่บางครั้งคนเขียนก็เสนอวีซ่าตัวอื่นที่เหมาะสมกว่า) ไม่ทราบอะไรเลยและต้องการหาแนวทาง หรือวางแผนอนาคต มีปัญหาด่วนมาให้แก้ไขให้ มีเวลาตั้งเยอะแต่ไม่ทำอะไร เหลือ 1 อาทิตย์บ้าง 3 วันบ้าง วีซ่าจะหมดวันพรุ่งนี้ วันนี้เพิ่งติดต่อมา ปกติคนเขียนไม่ทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ  บางวัน 5ทุ่ม เที่ยงคืน ตี3 ยังนั่งทำงาน แต่จะพยายามเลิกรับโทรศัพท์หลัง 1ทุ่ม   สำหรับเคสด่วน นัดปรึกษาวันเสาร์อาทิตย์ หรือแม้กระทั่ง 3-4 ทุ่ม คนเขียนก็จัดให้นะคะ แต่ด่วนของลูกความ กับด่วนของคนเขียน คนละเรื่องกัน เช่น ลูกความเพิ่งแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์มา ต้องการทราบว่าจะอุทธรณ์ต่อหรือจะกลับไทยดี เคสนี้มี 35 วัน จริงๆเคสนี้ไม่ด่วน แต่ไฟล์กลับไทยช่วงโควิดมีไม่เยอะ และเต็มเร็วมาก เพราะฉะนั้นเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และอาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าของลูกความในอนาคต (ถ้าตัดสินใจจะกลับ แต่กลับไม่ได้ก่อนวีซ่าหมด) เคสนี้คนเขียนดูเคสให้วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น 3 […]

Continue Reading...

  ช่วงนี้เทรนการพิจารณา Stage 2 Partner visa (PR) คือ เร็วถึงเร็วมากนะคะ คนเขียนมีโอกาสได้แจ้งข่าวดีให้กับน้องๆหลายคนเลย   ต้องขอบคุณอิมมิเกรชั่นที่ถึงแม้จะไม่ได้ประกาศอะไรออกมา แต่เราก็ทราบได้จากการกระทำว่าหน่วยงานในอิมมิเกรชั่นเองก็พยายามช่วยหลายๆคนให้ได้พีอาร์โดยเร็ว   พอได้พีอาร์แล้ว หลายๆคนก็อาจจะได้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินที่รัฐบาลเสนอช่วยอยู่ ณ ตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19   น้องๆที่ยื่นเอกสาร Stage 2 Partner visa ไปแล้ว อาจจะสงสัยว่าเราจะได้วีซ่าเร็วๆกับเค้าบ้างไหม ไม่มีใครตอบได้ แต่อย่างนึงที่น้องๆทำได้คือ – เช็คเอกสารของตัวเองว่ายื่นเอกสารครบตามที่อิมมิเกรชั่นต้องการหรือไม่ (Decision Ready Application) – ยื่นเอกสารครบไม่พอนะคะ เอกสารที่ยื่นต้องมีคุณภาพด้วย – มีประเด็นอะไรที่อาจจะเป็นปัญหาหรือไม่ ถ้ามี เป็นประเด็นง่ายๆที่เราสามารถนำเสนอได้เลย เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา หรือเป็นประเด็นที่เราไม่ควรจะไปเปิดประเด็น (งงใช่ไหมล่า …. มันอธิบายยากนะตรงนี้ มันคือ Strategy การทำงานของแต่ละเคส)  ถ้าแนวโน้มเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ ก็คงไม่ต้องหวังการพิจารณาที่รวดเร็วนะคะ เอาแค่หวังผ่านดีกว่า เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น   […]

Continue Reading...

  นานๆทีก็จะมีน้องโทรมาถามประมาณนี้ “พี่ครับผมเคยไปออสเตรเลียและหนีวีซ่ามาระยะนึง ถูกจับได้และส่งกลับ ตอนนี้อยู่ไทย เอเจนต์แนะนำให้ผมเปลี่ยนชื่อแล้วไปขอพาสปอร์ตด้วยชื่อใหม่ นี่ผมไปเปลี่ยนชื่อมาแล้ว กำลังจะไปทำพาสปอร์ต พี่ว่าผมจะได้วีซ่าไหมครับ “   อารมณ์คนเขียนก็ประมาณ “โอ้โหน้อง เอเจนต์ที่ไหนคะเนี่ยแนะนำแบบนี้”   เอเจนต์คงไม่ได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อ เผื่อชื่อใหม่จะทำให้ดวงดีได้วีซ่าหรอกค่ะ คาดว่าเอเจนต์ตั้งใจจะยื่นวีซ่าให้โดยใช้ชื่อใหม่ ไม่แจ้งชื่อเดิม เผื่ออิมมิเกรชั่นจะไม่เจอว่าน้องเคยมีประวัติหนีวีซ่า การไม่แจ้งชื่อเดิมในใบสมัคร อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าได้นะคะ โดยเฉพาะในกรณีที่ชื่อเดิมมีประวัติไม่ดีแบบนี้ ถ้าอิมมิเกรชั่นตรวจเจอเข้าในระหว่างพิจารณาวีซ่า นอกจากอาจจะถูกปฏิเสธวีซ่าเพราะประวัติเดิมแล้ว ยังอาจจะถูกติดบาร์ 3 ปี (PIC 4020) จากการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงด้วย ถ้าบังเอิญโชคดีได้วีซ่า ก็ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะไม่มีปัญหา ต่อให้หมกเม็ดไปตลอดรอดฝั่งจนได้พีอาร์ ได้เป็นพลเมือง อิมมิเกรชั่นก็อาจจะมาเจอประวัติเก่าเข้าจนได้   คนเขียนเอาเคสที่เพิ่งอ่านเจอเมื่อเร็วๆนี้มาแชร์นะคะ เคสนี้คือเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว พบรัก แต่งงาน ขอวีซ่าคู่ครอง ความสัมพันธ์ไปไม่รอด ไม่ได้พีอาร์และกลับประเทศไป  ต่อมาพบรักใหม่กับออสซี่อีกคน แทนที่จะขอวีซ่าคู่ครองตามปกติซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เอเจนต์กลับแนะนำให้เปลี่ยนชื่อก่อนยื่น เพื่อที่จะยื่นวีซ่าคู่ครองด้วยชื่อใหม่โดยไม่แจ้งชื่อเดิม คือประวัติใสค่ะ เสมือนไม่เคยขอวีซ่า สรุปว่าได้วีซ่าคู่ครองกับแฟนใหม่ด้วยชื่อใหม่ และต่อมาก็ได้เป็นพลเมืองด้วยชื่อใหม่ …..18 ปีผ่านไปอิมมิเกรชั่นไปเจอเข้าโดยบังเอิญ (เดี๋ยวนี้ระบบคอมพิวเตอร์เค้าเริ่ดนะคะ) […]

Continue Reading...

  เคสนี้เป็นเรื่องของลูกความแถบยุโรบคู่หนึ่งที่มาด้วย Working Holiday visa และทำวีซ่า 457 กับเอเจนต์อื่น   ลูกความติดต่อมาหาคนเขียนครั้งแรกกลางปี 2016 Standard Business Sponsorship (SBS) application ถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์คำนวนค่าเทรนนิ่งผิด เอเจนต์แนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่เข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เพราะเป็นประเด็นที่แก้ไขได้   และยื่นใหม่เร็วกว่ายื่นอุทธรณ์แน่นอน   ลูกความอยากเปลี่ยนมาให้คนเขียนดูแล   แต่นายจ้างยังมั่นคงกับเอเจนต์เดิม (ปัญหาโลกแตก ต้องปล่อยให้นายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอาเอง)   เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ลูกความติดต่อมาอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2018 และจะให้คนเขียนยื่นขอพีอาร์ให้   คนเขียนก็คิดว่าลูกความต้องการต่อยอดจาก 457 เป็นวีซ่าพีอาร์ 186 …. คือดูจากเวลาแล้วน่าจะใช่ น่าจะถือ 457 (เข้ากฏเก่า) มาแล้ว 2 ปี   ปรากฏว่าความเป็นจริงห่างไกลจากที่คิดไว้เยอะเลยค่ะ ที่หายไป 2 ปีกว่า คนเขียนวิเคราะห์ได้ตามข้างล่าง คือต้องวิเคราะห์เองจากเอกสาร เพราะถามอะไรลูกความก็ทำหน้างงๆ — คืองงอะไร ไม่เข้าใจ จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่ใช่ […]

Continue Reading...

  UPDATE: 14 December 2018   จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า “ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง” (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง)   …. ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ …. เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ…. ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้   เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง   ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 […]

Continue Reading...

  วันนี้มาให้ข้อมูลสั้นๆเกี่ยวกับค่ายื่นใบสมัครอุทธรณ์ (Review application) ที่ชั้น AAT หรือชื่อเต็มๆว่า Administrative Appeals Tribunal   Migration review application เป็นการยื่นอุทธรณ์ในกรณีถูกปฏิเสธวีซ่า ถูกปฏิเสธ Nomination หรือ Sponsorship หรือการถูกยกเลิกวีซ่า เป็นต้น ค่ายื่นอุทธรณ์คือ $1,764 ถ้าชนะที่ชั้นอุทธรณ์ได้ค่ายื่นคืน 50% ใครชนะที่ชั้นอุทธรณ์แล้วไม่เห็นเงินนี้ภายใน 4 อาทิตย์ ก็ควรติดต่อ AAT, ทนายความ หรือเอเจนต์ที่ดูแลเคสของเราค่ะ Refugee review application เป็นการยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับวีซ่าลี้ภัย ตอนยื่นไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์ จะต้องชำระค่ายื่นให้ AAT $1,764 เบี้ยวไม่ชำระ ถือว่าติดหนี้รัฐ อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าตัวถัดไป ป.ล. อาจจะไม่บ่อยเท่าค่ายื่นวีซ่า แต่ค่ายื่นอุทธรณ์ก็มีการขึ้นราคานะคะ รายละเอียดอื่นเกี่ยวกับ AAT เขียนไว้ในโพสนี้ ซึ่งตอนที่เขียน ชื่อหน่วยงานคือ MRT (Migration Review […]

Continue Reading...

  Bridging visa คืออะไร   คนเขียนมักจะอธิบายแบบสั้นๆง่ายๆให้ลูกความฟังว่า Bridging visa คือวีซ่า “รอ” …. รออะไร … ก็รอผลการพิจารณาของวีซ่าตัวจริงที่เรายื่นขอไปไงคะ เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าทำงาน  อิมมิเกรชั่นเรียกวีซ่าตัวจริงพวกนี้ว่า “Substantive visa”   วีซ่า “รอ” (Bridging visa) กับวีซ่าตัวจริง (Substantive visa) มีความสัมพันธ์กันอยู่ค่ะ   พอเรายื่นขอวีซ่าตัวจริงอะไรซักอย่างเข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าทำงาน อิมมิเกรชั่นก็จะออก Bridging visa มาให้ เพื่อที่ผู้สมัครจะได้ “รอ” ผลการพิจารณาวีซ่าอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้อย่างถูกกฏหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วอิมมิเกรชั่นจะออก Bridging visa ให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการยื่นขอ Substantive visa …. ใช้คำว่า “โดยส่วนใหญ่” เพราะก็มีบางกรณีที่ Bridging visa ไม่ได้ออกให้อัตโนมัติ คือต้องกรอกแบบฟอร์มยื่นขอกันตังหาก […]

Continue Reading...